วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยานไวกิ้ง (Viking spacecraft)




ปี 2006 เป็นปีสำคัญปีหนึ่งในวงการดารา ศาสตร์เพราะเป็นปีที่ครบรอบ 30 ปีของปฏิบัติการสำรวจดาวอังคารของยานไวกิ้งสองลำ(Viking spacecraft) คือยานไวกิ้ง 1 และยาน ไวกิ้ง 2 ขององค์การนาซา
ปฏิบัติการ ของยานไวกิ้งเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในการสำรวจดาวเคราะห์ขององค์การนาซา เพราะเป็นยานอวกาศที่สามารถร่อนลงบนพื้นผิวดาวเคราะห์ในระบบสุริยะได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกหลังจากนาซาเคยประสบความสำเร็จในการนำยานลงบนดวงจันทร์มาก่อน หน้านี้

ทศวรรษที่ 1970 นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับดาวอังคารมากนัก ดังนั้นเป้าหมายการสำรวจของยานไวกิ้ง คือการสำรวจทุกซอกทุกมุม เป้าหมายแรก คือถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารอย่างละเอียดทั้งดวง เป้าหมายที่สอง คือศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของบรรยากาศและพื้นผิว และเป้าหมายที่สามคือค้นหาสิ่งมีชีวิตซึ่งนักวิทยาศาสตร์อยากรู้มากที่สุด



ยานภาคพื้นดิน ไวกิ้ง 2 บริเวณยูโทเปีย พลานิเทีย
ยาน ไวกิ้งทั้งสองลำประกอบด้วยยานโคจร (Orbiter) และยานภาคพื้นดิน (Lander) ยานแฝดพี่ไวกิ้ง 1 ออกเดินทางเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ปี ค.ศ.1975 และถึงดาวอังคารเมื่อวันที่ 19 มิถุนา ยน ค.ศ.1976 แต่ก็ต้องเจอกับอุปสรรคเมื่อพบว่าพื้นที่เป้าหมายบริเวณ ไครส์ พลานิเทีย (Chryse Planitia) หรือ ที่ราบทองคำ (22.48 องศาเหนือ, 49.97 องศาตะวันตก) ที่จะปล่อยยานภาคพื้นดินลงจอดไม่ปลอดภัยเพราะขรุขระเกินไป ยานโคจรจึงต้องใช้เวลาถ่ายภาพหาตำแหน่งที่เหมาะสมในบริเวณไครส์ พลานิเทีย นานถึงสามสัปดาห์ ในที่สุดวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1976 ยานภาคพื้นดินก็ร่อนลงบนพื้นผิวดาวอังคารในบริเวณไครส์ พลานิเทีย อย่างปลอดภัย

ส่วนยานแฝดน้องไวกิ้ง 2 ออกเดินทางเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ.1975 และถึงดาวอังคารเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ.1976 ยานภาคพื้นดินได้ร่อนลงบริเวณยูโทเปีย พลานิเทีย (Utopia Planitia- 47.97 องศาเหนือ, 225.74 องศาตะวันตก) เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ.1976

ยาน ไวกิ้งเป็นต้นแบบของเทคโนโลยีการนำยานภาคพื้นดินร่อนลงบนพื้นผิว โดยใช้ร่มชูชีพและเกราะป้องกันความร้อน ซึ่งยานในยุคหลังได้นำมาใช้ อาทิเช่น ยานมาร์ส พาธไฟน์เดอร์ซึ่งนำรถหุ่นยนต์โซเจอร์เนอร์ลงสู่พื้นผิวดาวอังคารเมื่อปี ค.ศ.1997 และยานมาร์ส เอ็กซ์พลอเรชั่นโรเวอร์ซึ่งนำรถหุ่นยนต์สปิริตและอ๊อพพอร์จูนิตี้ลงสู่พื้น ผิวดาวอังคารเมื่อปี ค.ศ.2004


ยานโคจร
ยาน แฝดไวกิ้งถูกออกแบบให้ปฏิบัติการเพียง 90 วัน แต่เอาเข้าจริงมันทำได้มากกว่านั้น ยานโคจรทั้งสองลำได้ทำการสำรวจดาวอังคาร ดวงจันทร์โฟบอส (Phobos) และดวงจันทร์ไดมอส (Deimos) นานกว่า 6 ปี โดยสามารถถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารได้มากกว่า 50,000 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 97 ของพื้นผิวดาวอังคารทั้งหมด


ยานโคจรไวกิ้ง 2 สิ้นสุดปฏิบัติการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.1978 โคจรรอบดาวอังคารได้ 706 รอบ และยานโคจรไวกิ้ง 1 สิ้นสุดปฏิบัติการเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1980 โคจรรอบดาวอังคารได้กว่า1,400 รอบ

ส่วนยานภาคพื้นดินสามารถถ่ายภาพ พื้นผิวดาวอังคารระยะใกล้ได้จำนวนประมาณ 4,500 ภาพ ยานภาคพื้นดินไวกิ้ง 2 สิ้นสุดปฏิบัติการเมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ.1980 และยานภาคพื้นดินไวกิ้ง 1 สิ้นสุดปฏิบัติการเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1982


ยานภาคพื้นดิน
ผล งานของยานไวกิ้งทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดาวอังคาร มากมาย เกินคุ้มกับงบประมาณทีใช้ไป ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับบรรยากาศหรือพื้นผิว ยานโคจรสามารถถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารระยะไกลที่มีความละเอียดสูงได้เกือบ ทั้งดวงและยานภาคพื้นดินสามารถถ่ายภาพพื้นผิวระยะใกล้อย่างละเอียดอีกด้วย

ยานไวกิ้งทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า ภูมิประเทศของดาวอังคารแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ ที่ราบต่ำทางเหนือและที่ราบสูงทางใต้

ดาว อังคารมีภูเขาไฟ ที่ราบลาวา แคนยอนขนาดใหญ่ หลุมอุกกาบาต และร่องรอยน้ำบนพื้นผิวในอดีต และยังพบหลุมอุกกาบาตทับบนหุบเขาและทางน้ำไหลซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ2 พันล้านปีก่อนด้วย

พื้นดินของดาวอังคารแห้งแล้งเต็มไปด้วยทรายและ หินซึ่งมีสีแดงคล้ายสีของเหล็กอ๊อกไซด์ ท้องฟ้าสีชมพู ดินบริเวณที่ยานภาคพื้นดินลงจอดอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก อุณหภูมิบนพื้นผิวอยู่ในระหว่าง 150-250 องศาเคลวิน ยานภาคพื้นดินซึ่งทำหน้าที่เสมือนห้องแล็ปทางชีววิทยาตรวจไม่พบสิ่งมีชีวิต ใดๆ บนพื้นดิน

และการศึกษาบรรยากาศพบว่าบรรยากาศของดาวอังคารในยุคแรกๆ แตกต่างกับบรรยากาศในยุคปัจจุบันมาก


ภาพภูเขาคล้ายใบหน้าคนบริเวณไซโดเนียร์
นอก จากผลงานภาพถ่ายพื้นผิวดาวอังคารเกือบทั้งดวงแล้ว ภาพถ่ายภาพหนึ่งของยานโคจรไวกิ้ง 1 ยังสร้างความฮือฮาให้กับนักวิทยาศาสตร์ นั่นคือ ภาพภูเขาคล้ายใบหน้าคน (Face on Mars) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 กิโลเมตร บริเวณไซโดเนียร์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันเกิดจากการกระทำของกระแสลม

แต่ เมื่อภาพนี้อยู่ในมือของนักวิจัยยูเอฟโอ พวกเขากลับเชื่อว่ามันคือประติมากรรมของมนุษย์ต่างดาว หรือชาวอังคาร ทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนระหว่างนักวิจัยยูเอฟโอและนักวิทยา ศาสตร์ของนาซาอยู่นานหลายปี

ในที่สุดองค์การ นาซาต้องให้ยานมาร์ส โกลบอลเซอร์เวเยอร์ถ่ายภาพมันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นการถกเถียงก็จางหายไปเพราะภาพใหม่นี้แสดงว่ามันเป็นเพียงภูเขา ตามธรรมชาติ
เจนทรี ลี หัวหน้าทีมวิศวกรสำรวจอวกาศของ JPL (NASA"s Jet Propulsion Laboratory) อดีตผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของโครงการไวกิ้งเล่า ความหลังให้ฟังว่า ก่อนการสำรวจทีมงานโครงการไวกิ้งไม่รู้เกี่ยวกับบรรยากาศของดาวอังคารมากนัก และเกือบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับภูมิประเทศหรือว่าหินบนดาวอังคารเอาเสียเลย แต่ก็มีความกล้าหาญในการพยายามนำยานลงแตะพื้นผิวอย่างนิ่มนวล

"ตอนนั้นพวกเราทั้งขนลุกขนพองและเริงร่าระคนกัน แต่หลังจากที่เห็นยานแตะพื้นอย่างปลอด ภัยแล้ว พวกเราก็มีความสุขและรู้สึกภูมิใจ"
แม้ว่าวันเวลาจะผ่านไปถึง 30 ปีแล้วก็ตาม แต่ความรู้สึกของ ดั๊ก แม็กครุยส์ตัน ผู้อำนวยการโปร แกรมสำรวจดาวอังคารของนาซา (Mars Explora- tion Program) แล้วมันเป็นความยิ่งใหญ่ที่น่าจดจำ

เขา บอกว่าปฎิบัติการของยานไวกิ้งเปรียบเสมือนตำนานที่ยิ่งใหญ่ มันเป็นความสำเร็จที่แทบไม่น่าเชื่อซึ่งทำให้ปฎิบัติการสำรวจทั้งหมดทั้งใน ปัจจุบันและอนาคตจะต้องถูกนำไปเปรียบเทียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น