วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ดวงจันทร์ (The moon)


               ดวงจันทร์ คือบริวารของโลกอยู่ใกล้โลกมากที่สุด ระยะห่างจากโลกโดยเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง การที่เรามองเห็นว่าดวงจันทร์มีแสงเพราะดวงอาทิตย์ส่องแสงมาที่ดวงจันทร์ เราจึงมองเห็นว่าดวงจันทร์มีแสงดวงจันทร์จะหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 27.321 วัน หรือประมาณ 1 เดือน และในขณะเดียวกันจะหมุนรอบโลกใช้ เวลา 27.321 วันแต่ที่เราเห็นดวงจันทร์กลับมาอยู่ที่เดิมบนท้องฟ้านั้นจะใช้เวลา 29.5306 วัน เนื่องจากว่าระหว่างที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกนั้น โลกเราก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย ทำให้กว่าที่ดวงจันทร์จะกลับมาอยู่ที่เดิมต้องใช้เวลาเกือบเดือน ทำให้จำนวนวันของปฏิทินจันทรคติ บางเดือนก็มี 29 วัน บางวันก็มี 30 วัน  การที่เรามองไม่เห็นดวงจันทร์ในเวลากลางคืน เพราะเมื่อโลกหมุนรอบตัวเอง จนด้านที่เราอยู่มาในทิศที่ไม่โดนแสง โลกจึงอยู่ในเวลากลางคืน และดวงจันทร์หมุนรอบโลก มาทางโลกที่อยู่ในด้านสว่าง จึงทำให้แสงแดดส่องมาที่กระทบที่ดวงจันทร์ แล้วทำให้เรามองไม่เห็น ดวงจันทร์ หรือที่เรียกว่าข้างแรม   การที่เรามองเห็นดวงจันทร์ในเวลากลางคืน เพราะเมื่อโลกหมุนรอบตัวเอง จนด้านที่เราอยู่มาในทิศที่ไม่โดนแสง โลกจึงอยู่ในเวลากลางคืน ประจวบกับดวงจันทร์หมุนรอบโลก มาทางโลกที่อยู่ในด้านมืด จึงทำให้แสงแดดส่องมาที่กระทบที่ดวงจันทร์ แล้วทำให้เรามองเห็น ดวงจันทร์ โดยเราสามารถที่จะมองเห็นดวงจันทร์ได้ประมาณ 15 วัน หรือที่เรียกว่าข้างขึ้น ดวงจันทร์มีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์บนโลก  เช่น การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง  ซึ่งเกิดจากแรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์  และการเกิดสุริยุปราคา และจันทรุปราคา เป็นต้น ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปสำรวจดวงจันทร์ คือ ยานลูนา 2  ของประเทศรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2502   และยานอะพอลโล 11 เป็นยานอวกาศลำแรกที่พามนุษย์ไปลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512   พบว่าดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้ม จึงเป็นสาเหตุให้พื้นผิวดวงจันทร์เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตมากมาย ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก เราสามารถมองเห็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ได้ด้วยตาเปล่าคือ บริเวณที่เราจินตนาการว่า เป็นกระต่ายบนดวงจันทร์นั่นเอง ดวงจันทร์มีขนาดเล็กว่าโลกประมาณ 4 เท่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3476 กิโลเมตร  ดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าโลกเรา 6 เท่า ถ้าเราชั่งน้ำหนักบนโลก ได้ 60 กิโลกรัม บนดวงจันทรจะชั่งได้แค่ 10 กิโลกรัม ทำให้นักบินอวกาศที่สวมชุดหนักๆ สามารถกระโดดได้สูงกกว่าบนโลกเรา
               สุริยุปราคาหรือสุริยคราส(Solar Eclipse)เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เงาของดวงจันทร์จะทอดมายังโลก ทำให้คนบนโลก (บริเวณเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์) มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง หรือบางแห่งเห็นดวงอาทิตย์มืดหมดทั้งดวงเงาของดวงจันทร์มี 2 แบบ คือ เงามืด กับเงามัวพื้นที่ส่วนใดบนโลกเงามืด ของดวงจันทร์ทอดผ่าน ผู้คนในแทบนั้นจะมองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มืดหมดดวง เกิดเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง ส่วนผู้คนในพื้นที่ที่งัวเคลื่อนผ่านจะมองเห็นเป็น สุริยุปราคาชนิดบ่างส่วน ในกรณีที่เงามืดของดวงจันทร์ทอดผ่านเลยขั้วเหนือเหนือขั้วใต้ของโลกไปใน อวกาศครั้งนั้นก็ไม่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงให้เห็น คงมีแต่เพียงสุริยุปราคาชนิดบ่างส่วนให้เห็นในพื้นที่ที่เงามัวเคลื่อนผ่าน เท่านั้น สุริยุปราคาแบบที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อ เงามืดของดวงจันทร์เคลื่อนผ่านโลก แต่เงามือไม่ยาวพอที่จะตกลงสัมผัสพื้นโลกได้ ปลายกรวยแหลมของเงามืดจึงตกลงที่จุดหนึ่งในอวกาศก่อนสัมผัสผิวโลกกรณีเกิด ขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ไกลออกไปในวงโคจรรอบโลก จึงปรากฎมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์จนไม่สามารถบดบังดวงอาทิตย์ให้มือมิดหมด ดวงได้ยังคงมีขอบดวงอาทิตย์ เหลือล้อมดวงดำของดวงจันทร์ เรียกว่าเป็น สุริยุปราคาวงแหวน (Annular ecilpse) ดวงจันทร์เคลื่อนที่บังแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงาขึ้น 2 ชนิด คือ เงามืด และเงามัว 

 
เงามืด (Umbra) เป็นส่วนที่มืดที่สุด เนื่องจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น ถ้าหากเข้าไปอยู่ ในเงามืด เราจะไม่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้เลย        
เงามัว (Penumbra) ไม่มืดมากนักเนื่องจากได้รับแสงเป็นบางส่วนจากอาทิตย์ ถ้าหากเราเข้าไปอยู่ ในเงามัว เราจะมองเห็นบางส่วนของดวงอาทิตย์โผล่พ้นส่วนโค้งของดวงจันทร์ออกมาก      










สุริยุปราคา 3 ชนิด
           สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งเงามืดบนพื้นผิวโลก (A) ดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น
           สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งของเงามัว (B) จึงมองเห็นดวงอาทิตย์เป็นสว่างเป็นเสี้ยว
           สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เป็นรูปวงรี บางครั้งดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเสียจนเงามืดของดวงจันทร์จะทอดยาวไม่ถึงผิวโลก (C) ดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ทำให้ผู้สังเกตการณ์มองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นรูปวงแหวน


    
จันทรุปราคา (เรียกได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน; อังกฤษ: lunar eclipse) คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์, โลก และดวงจันทร์ เคลื่อนที่มาอยู่ในแนวระดับเดียวกันพอดี หากเกิดขึ้นในช่วงพระจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงจันทร์ผ่านเงาของโลก จะเรียกว่า จันทรุปราคา ปรากฏการณ์จันทรุปราคาแม้จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อในหลายวัฒนธรรมมาช้านาน รวมทั้งของไทยด้วย ซึ่งลักษณะของจันทรุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์ที่เคลื่อนที่ผ่าน เงาของโลกในเวลานั้นๆเมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
  • ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น
  • ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียด ลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
  • ระดับ 2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด
  • ระดับ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด
  • ระดับ 4 ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือสีส้ม ด้านขอบของเงาสว่างมาก 

 ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง


จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์และ ระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกัน 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมาก จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือจันทรุปราคาบางส่วนได้
ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์มีผลต่อความเข้มของจันทรุปราคาด้วย นอกจากนี้ หากดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) จะทำให้ระยะเวลาในการเกิดจันทรุปราคานานขึ้น ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
1 ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ช้าที่สุดตลอดการโคจรรอบโลก
2 ดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลกจะมีขนาดเล็ก จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกไปทีละน้อย ทำให้อยู่ในเงามืดนานขึ้น
ในทุกๆ ปีจะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หากเก็บสถิติการเกิดจันทรุปราคาแล้ว จะสามารถทำนายวันเวลาในการเกิดจันทรุปราคาครั้งต่อไปได้การสังเกตจันทรุปราคาแตกต่างจากสุริยุปราคา จันทรุปราคาส่วนใหญ่จะสามารถสังเกตได้จากบริเวณใดๆ บนโลกที่อยู่ในช่วงเวลากลางคืนขณะนั้น ขณะที่สุริยุปราคาจะสามารถสังเกตได้เพียงบริเวณเล็กๆ เท่านั้นหากขึ้นไปยืนอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ขณะที่เกิดจันทรุปราคาบนโลก ก็จะสามารถเห็นการเกิดสุริยุปราคาบนดวงจันทร์ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากการที่โลกกำลังบังดวงอาทิตย์อยู่ในเวลานั้น

                                                ภาพขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น